หน้าเว็บ

วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ @ THAILAND 4.0

“HR 4.0 TRENDS AND MOVE” ทิศทางการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ @ THAILAND 4.0



ภายในไม่เกิน 5 ปีข้างหน้า รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายในการนำพาประเทศเข้าสู่โมเดล “ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0)” ที่มุ่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่ “เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” แน่นอนว่า เมื่อบริบททางเศรษฐกิจเกิดการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ของภาคธุรกิจต่างๆ ควรต้องมีการปรับตัวตามเช่นกัน เพื่อให้องค์กรสามารถเติบโตในบริบทใหม่ได้อย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ


และเพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้ก้าวทันและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง เรามาย้อนดูพัฒนาการ HR จากยุค 1.0 - 3.0 ที่ผ่านมาองค์กรต่างๆในประเทศไทยมีรูปแบบบริหารบุคคลเป็นอย่างไร และในอนาคตเราควรต้องปรับตัวอย่างไรบ้างมาดูกันเพื่อเตรียมเข้ายุค HR 4.0

HR 1.0 ยุคเริ่มแรกของงานบริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่งานของ HR ยังคงมีลักษณะเป็น “งานบุคคล” (Personnel) หรือมีลักษณะเป็น “งานธุรการ” ซึ่งให้ความสำคัญในการทำงานอยู่กับการ “จ่ายเงินเดือน รับคนเข้า เอาคนออก เช็กบัตรตอก ออกใบเตือน” โดยองค์กรยังมองว่า ฝ่าย HR ไม่ใช่ส่วนงานสำคัญเพราะไม่ทำให้เกิดรายได้ และไม่ได้มีมุมมองต่อ “คน” ในองค์กรว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญสูงสุด

HR 2.0 เป็นยุคที่เริ่มมีแนวคิดว่า โลกมีการแข่งขันสูงมาก HR จึงต้องเปลี่ยน ไม่สามารถทำงานแบบเดิมๆ ได้อีกต่อไป และเห็นว่าคนเป็นทรัพยากรสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร โดยฝ่าย HR คือผู้ที่มีหน้าที่สำคัญในการสรรหาคัดเลือกและรักษาบุคลากรเหล่านั้น รวมทั้งต้องมีความสามารถในการช่วยองค์กรคิดไปยังอนาคตด้วย ดังนั้น นัก HR ต้องปรับบทบาทจากการทำงานวันต่อวัน (Day-to-Day Routine) ไปสู่การเป็นคู่คิดทางธุรกิจ/คู่คิดเชิงกลยุทธ์ (Business Partner/Strategic Partner) และต้องมีหน้าที่เป็น Change Agent ที่มีความสามารถในการเตรียมพร้อมคนให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลง

HR 3.0 คือการทำงานของ HR ในยุคปัจจุบันนี้ที่มีการกำหนดขีดสมรรถนะของคนทำงาน HR (HR Competency) อย่างชัดเจนว่าต้องมีอะไรบ้าง และการจะเป็น Professional HR ได้จะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร โดยมองว่า HR ยุคใหม่ที่เป็นมืออาชีพต้องให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงปัจจัยแวดล้อมภายนอกเข้ากับการบริหารงาน HR ภายในองค์กรด้วย (HR from the Outside-In) ไม่ใช่มองแต่ปัจจัยภายในองค์กรเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ยังมองว่า นัก HR ต้องมีความเป็น Credible Activist หรือเป็นคนทำงานที่มีความน่าเชื่อถือ โดยต้องมีศาสตร์ในการทำงานเช่นเดียวกับวิชาชีพอื่นๆ, ต้องเป็นนักส่งเสริมบริหารการเปลี่ยนแปลง, ต้องเป็นนักสร้างขีดความสามารถขององค์กร, ต้องเป็น Innovator ที่สามารถคิดค้นนวัตกรรม ออกแบบเครื่องมือบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมกับองค์กรของตนเองได้ ตลอดจนเป็นนักวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่สามารถกำหนดตำแหน่งเชิงกลยุทธ์ขององค์กร และเสนอแนะแนวทางให้แก่ผู้บริหารได้


“ แนวโน้มและผลกระทบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุค HR 4.0 ”
   Trends and Effects of HR 4.0 in the Digital Economy       

  • การพัฒนาภาวะผู้นำ สร้าง Role Model ในอนาคตให้เกิดขึ้นภายในองค์กร (Development in a Future Leadership Role Model for the Organization)
  • การปรับโครงสร้างองค์กร รูปแบบโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสมในยุค Digital (Organizational  Structure Reform in the Digital Age)
  • การบริหารจัดการ Talent การคัดเลือก พัฒนาและรักษา Talent ให้อยู่ในองค์กร (Best Practices for Effective Talent Management in Organization)
  • ปัญหาการสรรหาและคัดเลือกพนักงาน (Issues and Problems in Recruitment & Selection of Employees)
  • การจ่ายค่าตอบแทนเพื่อทำให้เกิดแรงจูงใจและสามารถแข่งขันในตลาดแรงงานได้ (Characteristics of an Effective Compensation System)
  • องค์กรแห่งการเรียนรู่สู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ (Building a Learning Organization towards New In ovation)
  • การกำหนดวันเวลา ทำงาน ให้เหมาะสมกับคนหลาย Gen (Creating Successful Flexible Working Time Arrangements for Gens)
  • ความสำคัญและประโยชน์ของ HR analytic (How Analytics are becoming important & benefit for HR) 

-----------------------------------------------------------------------------------
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : วารสาร HR Society Magazine